คำถาม ที่พบบ่อย

UPDATE 30 Aug 2023

คำถามที่พบบ่อย

 

1. เรื่องการแจ้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์

คำถาม  ผู้แจ้งเรื่องได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง ประสงค์จะยื่นเรื่องต่อสำนักงาน ปปง. ใช้เอกสารอะไรบ้าง

คำตอบ การแจ้งเรื่องเพื่อให้สํานักงาน ปปง. ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2545 เท่านั้น โดยมีข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

           1. ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ของผู้แจ้งเรื่อง

           2. ระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำความผิดมูลฐาน (ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร)

           3. แนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยชัดเจน เช่น หลักฐานการแจ้งความดำเนินคดี หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น สลิปการโอนเงิน รายการเดินบัญชี ฯลฯ

 

2. เรื่องการขอตรวจบัตรประชาชนก่อนการทำธุรกรรม

คำถาม  กฎหมายใดที่กำหนดให้มีการตรวจบัตรประชาชนเมื่อทำธุรกรรม

คำตอบ  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 มาตรา 9 และ 18 และ (2) ประกาศคณะกรรมการ ปปง. เรื่องการกำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยงและการกำหนดแนวทางปฏิบัติหรือมาตรการอื่นใดเพื่อป้องกัน
มิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ข้อ (1) (ข) กำหนดให้ตรวจรายชื่อลูกค้าและลูกค้าผู้ทำธุรกรรม
ครั้งคราวทั้งหมดกับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด และไม่สร้างความสัมพันธ์ ไม่ทำธุรกรรม กับบุคคลที่ถูกกำหนด

คำถาม  วัตถุประสงค์ในการแสดงบัตรในการทำธุรกรรม ถึงแม้เป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าเล็กน้อย

คำตอบ  กฎหมายกำหนดให้มีการตรวจรายชื่อผู้ทำธุรกรรมกับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด (ผู้ก่อการร้าย)
เพื่อเป็นการปิดช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินหรือบริการทางการเงิน โดยเป็นการลงโทษและสกัดกั้นการก่ออาชญากรรม อีกทั้ง ยังเป็นมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เนื่องจาก การก่อการร้ายเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความหวาดกลัว
ในวงกว้าง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันให้มีการสนับสนุนไม่ว่าทางใดก็ตาม อย่างไรก็ตาม กฎหมายกำหนดเพียงให้มีการตรวจชื่อผู้ทำธุรกรรมเท่านั้น
ซึ่งวิธีการตรวจสอบรายชื่อขึ้นอยู่กับกระบวนการภายในของผู้มีหน้าที่รายงาน โดยวิธีการขอบัตรประชาชนและใช้ Card reader เป็นวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่รายงานอาจเลือกใช้วิธีอื่นเพื่อให้ได้รับชื่อผู้ทำธุรกรรมก็ได้

 

3. เรื่องการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน

คำถาม    การโต้แย้งคัดค้านคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินมีแบบฟอร์มหรือไม่

คำตอบ   ไม่มีแบบฟอร์ม  เจ้าของทรัพย์สินจัดทำหนังสือเรียนเลขาธิการ ปปง. อ้างถึงเลขที่คำสั่งหรือเลขที่และชี้แจงที่มาเกี่ยวกับทรัพย์สิน

 

4. ช่องทางการติดต่อสำนักงาน ปปง.

คำถาม    สามารถติดต่อสอบถามสำนักงาน ปปง. ผ่านช่องทางใดบ้าง

คำตอบ    - ติดต่อด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ปปง.

              - ที่อยู่ไปรษณีย์ : สำนักงาน ปปง. เลขที่ 422 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                   : ตู้ ปณ.2 ปณ.รองเมือง 10330

              - เว็บไซต์ : www.amlo.go.th

              - อีเมล  : mail@amlo.go.th (ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส)

                         : saraban@amlo.go.th (ระบบงานสารบรรณกลาง)

              - Line Official : @insideamlo

              - Facebook : สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน – ปปง.

              - สายด่วน ปปง. : 1710

VISITOR

  • 7
  • 3
  • 5
  • 1
  • 8
  • 2
  • 6
  • 0
  • 5
  • 5
  • 8
  • 6
  • 6
-->
  • Facebook
  • Twitter
  • instagram
  • Youtube
  • TikTok