VISITOR
- 2
- 6
- 4
- 4
- 9
- 1
- 3
- 2
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงาน ปปง.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ประกอบกับได้มีประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐ โดยเรียกสถานที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารว่า “ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ”
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารไว้ อยู่ที่ชั้น ๑ ภายในอาคารสำนักงาน ปปง. เลขที่ ๔๒๒ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๓๓๐ หรือสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์หมายเลข ๐-๒๒๑๙-๓๖๐๐ ต่อ ๒๐๖๖, ๒๐๖๗ หรือสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงาน ปปง. ได้ที่เว็ปไซต์www.amlo.go.th
ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการกำหนด ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ดังนี้
๑. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้ง และคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
๒. นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๗ (๔)
๓. แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
๔. คู่มือ หรือ คำสั่งที่เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึง สิทธิหน้าที่ของเอกชน
๕. สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา ๗ วรรคสอง
๖. สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
๗. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรีทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ
รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาในการพิจารณาไว้ด้วย
๘. ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารที่สำนักงาน ปปง. จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู
เอกสารตามมาตรา ๗
๑.โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
๒.สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
เอกสารตามมาตรา ๙
๑. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว (มาตรา ๙ (๑) )
๒. แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐) (มาตรา ๙ (๓) )
๓. คู่มือ หรือ คำสั่งที่เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึง สิทธิหน้าที่ของเอกชน(มาตรา ๙ (๔) )
๔. สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา ๗ วรรคสอง (มาตรา ๙ (๕) )
๕. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรีทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง
หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาในการพิจารณาไว้ด้วย (มาตรา ๙ (๗) )
๖. ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา ๙ (๘) )
๖.๑ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศประกวดราคาประกาศสอบราคาที่หัวหน้าส่วนราชการลงนามแล้ว รวมทั้งผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้าง
ในรอบเดือนที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ สำนักงาน ปปง.
๖.๒ รายงานประจำปี ของสำนักงาน ปปง.
สิทธิของประชาชนหรือเอกชน พ.ร.บ. นี้ได้กำหนดสิทธิของประชาชนหรือเอกชน ดังนี้
๑. สิทธิในการขอคำปรึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นหน่วยงานทางวิชาการและธุรการ
ให้แก่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (มาตรา ๖)
๒. สิทธิตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนา
ที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา ๙ ได้
๓. สิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว
สิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับงานซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องให้กับบุคคลนั้น หรือผู้กระทำแทนได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น
หมายเหตุ สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ได้ที่เว็บไซต์ www.opm.go.th