Insite bigbanner

กองนโยบายและยุทธศาสตร์

UPDATE 30 ก.ย. 2565

กองนโยบายและยุทธศาสตร์

ตามระเบียบสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการบริหารราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๖๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕

ข้อ ๒๗ กองนโยบายและยุทธศาสตร์ มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

    (๑) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ และจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๒) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๓) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนงาน โครงการของสำนักงาน ปปง. เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี และขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน

    (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการดำเนินการเกี่ยวกับงานสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสรรหาคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเสนอหลักเกณฑ์ รูปแบบ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

    (๕) ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและมาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๖) ประเมินความเสี่ยงระดับชาติที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๒๘ ให้ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกองให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในกอง โดยมีผู้อำนวยการส่วนเป็นผู้ช่วยสั่งและควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของส่วนและให้เจ้าหน้าที่ในส่วนเป็นผู้ช่วย

ข้อ ๒๙ นอกจากหน้าที่และอำนาจตามข้อ ๒๗ ให้ส่วนราชการภายในของกองนโยบายและยุทธศาสตร์ มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

๑) ส่วนบริหารงานนโยบายและยุทธศาสตร์ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) งานอำนวยการ งานสารบรรณ และงานประชุมของกอง

    (๒) งานทะเบียน ประกาศ คำสั่ง และทะเบียนเอกสารลับของกอง

    (๓) งานบุคลากร งานพัฒนาระบบราชการ งานควบคุมการมาปฏิบัติราชการของกอง

    (๔) งานนโยบายและมาตรการ งานการเงิน และการงบประมาณของกอง

    (๕) งานพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง และสาธารณูปโภคของกอง

    (๖) งานรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน เอกสาร เอกสารลับ และอาคารสถานที่ของกอง

    (๗) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๒) ส่วนนโยบายและแผน ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) งานศึกษา วิเคราะห์ เพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการบริหารงานของสำนักงาน ปปง. ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และความร่วมมือด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงกับต่างประเทศ

    (๒) งานศึกษา วิเคราะห์ เพื่อจัดทำและพัฒนานโยบายการบริหารงานของสำนักงาน ปปง. ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและแผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    (๓) งานศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะนโยบายและมาตรการ กรอบทิศทางการพัฒนารูปแบบและเทคนิคการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๔) งานประสานการดำเนินงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน ปปง.ที่เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการ

    (๕) งานรวบรวม จัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านนโยบายและมาตรการของสำนักงาน ปปง.

    (๖) งานรวบรวมข้อมูลเพื่อการวางแผน รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนงานของสำนักงาน ปปง. ให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายของสำนักงาน ปปง.

    (๗) งานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ปปง. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงกับต่างประเทศและแผนงาน โครงการ และดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๘) งานตามนโยบายรัฐบาล/มติคณะรัฐมนตรี

    (๙) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๓) ส่วนการงบประมาณ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) งานจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักงาน ปปง.

    (๒) งานจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักงาน ปปง.

    (๓) งานจัดเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงกรรมาธิการงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานตามข้อสังเกตของกรรมาธิการงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

    (๔) งานบริหารงบประมาณ

    (๕) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๔) ส่วนวิจัยและพัฒนา ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและมาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๒) ประเมินความเสี่ยงระดับชาติที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและเผยแพร่ผลการประเมินแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๓) สนับสนุนและเสนอแนะด้านวิชาการเพื่อปรับปรุงพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานและคู่มือปฏิบัติงาน

    (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย

    (๕) งานจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการวิจัยของสำนักงาน ปปง.

    (๖) ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการข้อมูล การกำหนดวิธีการจัดเก็บ และการนำเสนอข้อมูล

    (๗) งานพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้

    (๘) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๕) ส่วนพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) งานแผนพัฒนาบุคลากร

    (๒) งานแผนการฝึกอบรมประจำปี

    (๓) งานกำหนดมาตรฐานการพัฒนาบุคลากร

    (๔) งานกำหนดหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตร

    (๕) งานคัดเลือกและจัดส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม

    (๖) งานคัดเลือกและจัดส่งบุคลากรไปเป็นวิทยากร

    (๗) งานจัดทำฐานข้อมูลการฝึกอบรมและฐานข้อมูลวิทยากร

    (๘) งานจัดฝึกอบรม

    (๙) งานประเมินผลภายในโครงการฝึกอบรม

    (๑๐) งานผลิตเอกสารและสื่อประกอบการฝึกอบรม

    (๑๑) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง   หรือที่ได้รับมอบหมาย

๖) ส่วนติดตามและประเมินผล ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การศึกษา วิเคราะห์ เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการวางระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๒) การศึกษา รวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ปัญหา อุปสรรค เพื่อปรับปรุงเร่งรัดการปฏิบัติงาน

    (๓) งานจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๔) งานจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่กำกับดูแล และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๕) จัดทำรายละเอียดเกณฑ์ของตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (๖) งานติดตามประเมินผลการปฎิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักงาน ปปง. รวมทั้งแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๗) ส่วนงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการและงานอำนวยการทั่วไป เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

    (๒) การดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอรายชื่อและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการดำเนินการเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

    (๓) การดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบหรือระเบียบการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

    (๔) การประสานและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบและกลั่นกรองเรื่องที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

    (๕) การศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา หรือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

    (๖) การดำเนินการจัดการประชุมและบริหารการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

    (๗) จัดทำมติและรายงานการประชุมของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมทั้งการแจ้งเวียนมติที่ประชุมเพื่อให้หน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

    (๘) การประสานงาน ติดตาม รายงานผลการปฏิบัติงาน และจัดทำสรุปสถิติผลการดำเนินการตามมติที่ประชุมและคำสั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

    (๙) การจัดการเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือคำร้องที่ยื่นต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในกรณีการเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และในกรณีที่อยู่นอกหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

    (๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติ และการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

    (๑๑) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย



VISITOR

  • 7
  • 3
  • 5
  • 1
  • 8
  • 2
  • 6
  • 0
  • 5
  • 5
  • 0
  • 5
  • 4
-->
  • Facebook
  • Twitter
  • instagram
  • Youtube
  • TikTok