ENGLISH THAI ADVANCED SEARCH LoginFAQ งานตรวจสอบภายใน VISITOR 26484454 Visitors Counter หน้าแรก บุคคลที่ถูกกำหนดความเป็นมา วัตถุประสงค์ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ UPDATE 28 ก.ย. 2559 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ การดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมีความเป็นมาและวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสากล ดังนี้ 1. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ค.ศ. 1999 (The Suppression of the financing of terrorism (SFT Convention) มีพันธะกรณีที่ประเทศภาคี (ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีด้วย) จะต้องปฏิบัติโดยสรุป ดังนี้ กำหนดให้การกระทำตามอนุสัญญาฯ เป็นความผิดอาญาตามกฎหมายภายในของตน และกำหนดให้มีบทลงโทษที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของความผิดแก่ผู้กระทำความผิดทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ให้แต่ละรัฐดำเนินมาตรการที่เหมาะสมตามหลักกฎหมายภายในของตนเพื่อพิสูจน์ทราบ และอายัดหรือยึดเงินทุนใดๆ ที่ได้ใช้หรือจัดสรรเพื่อมุ่งประสงค์ในการกระทำความผิดสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ตลอดจนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดนั้น เพื่อการริบเงินทุนดังกล่าว จับกุม และฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด หรือส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่ประเทศที่เกี่ยวข้อง (โดยอนุสัญญาฯ ให้ถือว่า ความผิดตามอนุสัญญาฯ เป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ระหว่างรัฐภาคีด้วยกัน) ร่วมมือกันในการกำหนดมาตรการให้สถาบันการเงินต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมขนาดใหญ่ หรือธุรกรรมที่น่าสงสัยต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ และเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน 2. ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1267 : UNSCR 1267(1999) ข้อมติ UNSCR 1267(1999) และมติที่ออกมาภายหลังกำหนดให้ประเทศต่างๆ ยึด และอายัดทรัพย์สินของบุคคลที่ได้รับการระบุชื่อโดยคณะมนตรีฯ คือ กลุ่มตาลีบัน, บิน ลาเดน และกลุ่ม Al-Qaida รวมถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเงินที่ได้รับมาจากหรือเกิดจากทรัพย์สินของกลุ่มตาลีบัน Al-Qaida หรือมีการควบคุมโดยตรงหรือโดยอ้อมจากกลุ่มตาลีบัน Al-Qaida หรือโดยกิจการที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมโดยกลุ่มตาลีบัน หรือ Al-Qaida อย่างไรก็ดี ข้อมติ UNSCR 1267(1999) ไม่ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความผิดทางอาญากรณีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (only freezing of asset, travel ban, and arms santions กลุ่มผู้ก่อการร้ายตาลีบันและนายอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ) 3. ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1373 : UNSCR 1373(2001) มีมติให้ทุกรัฐร่วมกันป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ประกาศให้การจัดหาหรือรวบรวมเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมโดยคนชาติหรือคนที่อยู่ในดินแดนของรัฐ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการก่อการร้ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทุกรัฐต้องให้หลักประกันว่าผู้มีส่วนในการสนับสนุนทางการเงิน การวางแผน หรือปฏิบัติการก่อการร้าย หรือให้การสนับสนุนการก่อการร้ายต้องถูกนำตัวมาดำเนินการตามกฎหมายและให้หลักประกันว่ากฎหมายและกฎข้อบังคับภายในรัฐต้องระบุให้การก่อการร้ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาร้ายแรงและต้องกำหนดบทลงโทษตามความร้ายแรงของการกระทำนั้นๆ การระบุรายชื่อ (Designated list) โดยประเทศต่างๆ สามารถกำหนดและจัดทำรายชื่อบุคคล กลุ่มหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของประเทศตนเองได้ เช่น OFAC list เป็นต้น อายัดเงินและทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย พยายามก่อการร้าย ผู้ที่เข้าร่วมหรืออำนวยความสะดวกให้แก่การก่อการร้าย รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินที่บุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของหรือควบคุม หรือบุคคลที่ดำเนินการแทน หรือดำเนินการตามคำสั่งของบุคคลข้างต้น 4. ข้อแนะนำของ FATF ข้อ 5 : ความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ข้อมติ UNSCR 1617(2005) กล่าวถึงการนำข้อแนะนำ 40+9 ของ FATF มาบังคับใช้เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (…to implement the comprehensive, international standards embodied in the FATF Forty Recommendations on Money Laundering and the FATF Nine Special Recommendations on Terrorist Financing การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายควรขยายออกไปยังบุคคลใดๆ ผู้ซึ่งเจตนาให้ หรือเก็บรวบรวมเงินทุนโดยวิธีการใดๆ และมีเจตนาว่าเงินนั้นควรจะถูกใช้หรือรู้ว่าจะถูกใช้ทั้งหมดหรือบางส่วน (1) เพื่อดำเนินการก่อการร้าย (2) โดยผู้ก่อการร้าย หรือ (3) โดยองค์การก่อการร้าย ความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายไม่จำเป็นว่าเงินหรือทรัพย์สินถูกใช้จริง เพื่อดำเนินการหรือพยายามก่อการร้าย (stand alone offence) การพิจารณาองค์ประกอบเรื่องเจตนาของความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายควรสรุปจากพฤติการณ์ข้อเท็จจริงในเชิงวัตถุประสงค์ของผู้กระทำ 5. ข้อแนะนำของ FATF ข้อ 6 : มาตรการอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย/องค์กรก่อการร้าย การระบุรายชื่อผู้ก่อการร้ายหรือองค์กรก่อการร้ายหรือผู้ที่สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (designated persons and entities) อำนาจอายัด ถอนอายัด และห้ามการทำธุรกรรมกับเงินหรือทรัพย์สินของผู้ซึ่งถูกขึ้นบัญชีรายชื่อไว้ โดยการห้ามโอน เปลี่ยนแปลง การจำหน่ายจ่ายโอน หรือการเคลื่อนย้ายเงินหรือทรัพย์สิน โดยอำนาจในการอายัดและถอนอายัดเงินหรือทรัพย์สินของผู้ก่อการร้ายสามารถดำเนินการได้ดังนี้ (1) ให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานหรือศาลในการออกคำสั่ง การบริหารจัดการ และบังคับใช้การดำเนินการอายัดและถอนอายัดตามกลไกที่เกี่ยวข้อง หรือ (2) ตราบทบัญญัติกฎหมายโดยมอบความรับผิดชอบในการอายัดเงินหรือทรัพย์สินแก่บุคคลหรือองค์กรซึ่งถือเงินหรือทรัพย์สินของผู้ก่อการร้ายและให้มีมาตรการลงโทษสำหรับการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม (3) แต่ละประเทศควรพัฒนาและมีวิธีดำเนินการเพื่ออายัดเงินหรือทรัพย์สินของผู้ก่อการร้ายโดยไม่ชักช้าและโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าแก่บุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง (4) แต่ละประเทศควรจะกำหนดวิธีการซึ่งเป็นที่ทราบแก่สาธารณชนเพื่อพิจารณาคำขอให้ถอนรายชื่อบุคคลหรือองค์กรออกจากบัญชีเมื่อแน่ใจในหลักเกณฑ์บางประการซึ่งสอดคล้องกับข้อผูกพันระหว่างประเทศและหลักกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ และเพื่อถอนการอายัดเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลหรือองค์กรซึ่งถูกถอนรายชื่อออกจากบัญชีให้เป็นไปโดยเร็ว สำหรับบุคคลและองค์กรซึ่งถูกระบุตามข้อมติ UNSCR 1267(1999) วิธีการและหลักเกณฑ์เช่นว่านี้ให้เป็นไปตามวิธีการซึ่งคณะกรรมการกำหนดมาตรการลงโทษแก่กลุ่มอัลกออิดะห์และกลุ่มตาลิบาน (Al-Qaida and Taliban Sanctions Committee) กำหนด (5) การเข้าถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดหากได้พิจารณาเห็นว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดตามข้อผูกพันตามข้อมติ UNSCR 1267(1999) หรือ UNSCR 1373(2001) มีความจำเป็นสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานเพื่อชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายและค่าบริการบางชนิด หรือสำหรับค่าใช้จ่ายพิเศษ เขตอำนาจควรจะให้อำนาจเข้าถึงเงินหรือทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมติที่ UNSCR 1452 (2002) (6) การยึดและการริบทรัพย์สินโดยกำหนดให้เป็นมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน Top VISITOR 7 3 5 1 8 26484454 26484454 Visitors Counter --> Visitors Counter